Friday, 26 April 2024

ใบสมัครงาน ໃບສະໝັກວຽກ

ทำไมบางคนเรียกว่าเรซูเม่ (Resume) บางคนเรียกซีวี (CV) ซึ่งย่อมาจากคำว่า ‘Curriculum Vitae’
ความแตกต่างอย่างแรกคือความยาวของข้อมูลระหว่างเรซูเม่และซีวีไม่เท่ากัน ซึ่งเรซูเม่จะเป็นการสรุปประวัติใน 1 หน้ากระดาษเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นด้านทักษะ ประสบการณ์ การศึกษา และข้อมูลส่วนตัว นิยมใช้แพร่หลายเฉพาะในอเมริกา

ส่วนซีวีนั้นจะมีความยาวมากกว่า คือมีตั้งแต่ 2 หน้าขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรมีเกิน 2 หน้า ผู้สมัครในไทยบางคนมีซีวีถึง 5 หน้า ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของเจ้าของซีวีได้มากยิ่งขึ้น

“ซีวียาวๆ ที่ไม่มีการเน้นจุดแข็งของผู้สมัคร อาจจะทำให้ประสบการณ์ที่ดีและหลากหลายดูด้อยลงไปก็ได้เช่นกัน”

CV หรือ Curriculum Vitae นั้นจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับด้านการศึกษาว่าเรียนอะไรมา จบสาขาอะไร มีประสบการณ์ด้านงานวิจัย งานที่เคยได้รับการตีพิมพ์ งานที่เคยมีการนำเสนอ รางวัลที่เคยได้รับ หรือเกียรตินิยม รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่แสดงถึงผลงานของเจ้าของ CV ซึ่งบริษัทที่อยู่ประเทศในโซนยุโปร ตะวันออก อาฟริกา หรือแม้กระทั่งในเอเชีย ก็นิยมใช้ CV กัน ในขณะที่ทางฝั่งอเมริกา นายจ้างมักจะชอบเรซูเม่แบบหน้าเดียวมากกว่า

แล้ว Application Form ต่างจาก Resume อย่างไร
โดยปกติแล้ว Resume เป็นอุปกรณ์ที่ผู้สมัครใช้บอกถึงว่าเราดีอย่างไรและเหมาะสมอย่างไรกับองค์กรหรือนายจ้างที่เราต้องการทำงานด้วย แต่ Application Form นั้นจะอิงกับข้อมูลล้วนๆ แล้ว Application Form ก็คือ Form ที่บริษัทให้ผู้สมัครกรอกรายละเอียดเพิ่มเติมนั่นเอง

ใน Resume 1 ประโยคที่คุณเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์นั้น ควรจะเป็นการชี้นำให้เห็นถึงจุดดีของคุณ โดย “บอกชื่อของสิ่งที่ได้ทำ อธิบายเพิ่มเติม แล้วบอกว่าดีอย่างไร” เช่น ” ผมเป็นเหรัญญิกของสโมสรนักศึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลด้านการเงินทั้งหมดของสโมสร ทำให้ผมรู้จักวิธีการบริหารและจัดการในเรื่องเงินของส่วนรวมได้เป็นอย่างดี” ซึ่งจะช่วยให้ HR สามารถทราบรายละเอียดของประสบการณ์ที่คุณเคยทำภายใน 1 ประโยค และ HR อาจจะชอบของคุณก็เป็นได้เพราะตาไม่ลายไปกับฟอร์มสำเร็จรูป

อย่างไรก็ตามในไทยเราก็นิยามคำว่าเรซูเม่หรือ CV ในความหมายเดียวกัน ส่วนใหญ่ที่เคยเห็นก็จะมีมากกว่า 1 หน้าเสมอ นอกเสียจากว่าเขียนได้แย่จริงๆ ก็จะมีแค่เพียงหน้าเดียว เพราะฉะนั้นเราจะทำให้ Resume ของเราดูดีได้ในสายตา HR ภายใน 10 วินาที อย่างไรนั้น เราไปดู Section ต่อไปกันครับ

ที่มา http://www.engineerfriend.com/

error: ห้าม Copy !!