Friday, 29 March 2024

กฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการและการล้มละลายขององค์กร (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2562 ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ການຟື້ນຟູ ແລະ ລົ້ມລະລາຍຂອງວິສາຫະກິດ (ສະບັບປັບປຸງ)ປີ 2019

ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ການຟື້ນຟູ ແລະ ລົ້ມລະລາຍຂອງວິສະຫະກິດ (ສະບັບປັບປຸງ)ປີ 2019
ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ການຟື້ນຟູ ແລະ ລົ້ມລະລາຍຂອງວິສະຫະກິດ (ສະບັບປັບປຸງ)ປີ 2019

กฎหมาย

กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์ คำสั่งหรือข้อบังคับ ที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้น ผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ

กฎหมายต้องมี 5 ประการดังนี้

1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ

หมายความว่า กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง คำบัญชา อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ เช่น ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวก เลิกกินหมากและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน ประกาศนี้แจ้งให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร มิได้บังคับจึงไม่เป็นกฎหมาย

2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์

รัฎฐาธิปัตย์คือ ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีก ดังนี้รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร แม้จะเป็นการปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตามถ้าหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์ที่สามารถออกคำสั่ง คำบัญชาในฐานะเป็นกฎหมายของประเทศได้

3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป

หมายความว่า กฎหมายต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ เพศ หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน (โดยไม่เลือกปฏิบัติ) เพราะบุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน แม้กฎหมายบางอย่างอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล หรือวางความรับผิดชอบให้แก่คนบางหมู่เหล่า แต่ก็ยังอยู่ในความหมายที่ว่าใช้บังคับทั่วไปอยู่เหมือนกัน เพราะคนทั่ว ๆ ไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกฎหมายนั้นก็ยังต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ

4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม

แม้การปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติ แต่หากเป็นคำสั่ง คำบัญชาแล้ว ผู้รับคำสั่ง คำบัญชา ต้องปฏิบัติตาม หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย อันเป็น ผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนั้น และเป็นที่พึงเข้าใจด้วยว่าผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะรับคำสั่งและปฏิบัติตามกฎหมายได้นั้นต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย อย่างไรก็ดีแม้กฎหมายจะไม่ใช้บังคับแก่สัตว์ แต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมมิให้สัตว์ก่อความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญแก่มนุษย์ ดังนี้กฎหมายจึงกำหนดความรับผิดไว้กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของที่ปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลสัตว์เลี้ยงของตนตามสมควร จึงมิใช่เป็นการออกคำสั่ง คำบัญชาแก่สัตว์ แต่เป็นการควบคุมโดยผ่านทางผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 433 บัญญัติว่า “ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้คำเสียหายทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหาย”

5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ

กฎหมายนั้นเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่เชื่อมโยงกับอำนาจบังคับฝ่ายเดียวของรัฐ กล่าวคือ กฎหมายนั้นมีสิ่งที่เรียกว่า “สภาพบังคับ” (SANCTION) สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง สภาพบังคับให้ทางอาญาโดยทั่วไปแล้ว คล้ายคลึงกัน คือ หากเป็นโทษสูงสุดจะใช้วิธีประหารชีวิต ซึ่งปางประเทศให้วิธีการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า แขวนคอ แต่ประเทศไทยในปัจจุบันให้นำไปฉีดยาให้ตายใช้วิธีประหารด้วยวิธีอื่นไม่ได้

นอกจากนั้นก็เป็นการจำคุก เป็นการเอาตัวนักโทษควบคุมในเรือนจำ ซึ่งต่างกับกักขังเป็นการเอาตัวไปกักไว้ที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ เช่นที่อยู่ของผู้นั้นเอง หรือสถานที่อื่นที่ผู้ต้องกักขังมีสิทธิดีกว่าผู้ต้องจำคุก สำหรับกฎหมายไทยโทษกักขังจะใช้เฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดครั้งแรก และความผิดนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ศาลจึงจะลงโทษกักขังแทนจำคุกได้ ส่วนการปรับคือ ให้ชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล การริบทรัพย์สิน คือ การริบเอาทรัพย์นั้นตกเป็นของแผ่นดิน เช่น ปืนที่เตรียมไว้ยิงคน หรือเงินที่ไปปล้นเขามา

นอกจากการริบแล้วอาจสั่งทำลายทรัพย์สินนั้นเสียก็ได้ สภาพบังคับในทางแพ่งก็ได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ ตัวอย่างเช่น การซื้อขายที่ดินโดยมิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตกเป็นโมฆะ การทำนิติกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ดี เป็นการพ้นวิสัยก็ดี เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี ตกเป็นโมฆะ การให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งจากการไม่ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกละเมิดเป็นต้น

Related posts
กฎหมายว่าด้วยงบประมาณแผ่นดิน (ฉบับปรับปรุง) 2558 ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ງົບປະມານແຫ່ງລັດ (ສະບັບປັບປຸງ) ປີ 2015
กฎหมายว่าด้วยการบริหารภาษี (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2562 ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ການຄຸ້ມຄອງສ່ວຍສາອາກອນ (ສະບັບປັບປຸງ) ປີ 2019
กฎหมายว่าด้วยการเลี้ยงสัตว์และสัตวแพทย์ (ฉบับปรับปรุง ) 2559 ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ການລ້ຽງສັດ ແລະ ການສັດຕະວະແພດ (ສະບັບປັບປຸງ) ປີ 2016
กฎหมายว่าด้วยบริการไปรษณีย์ (ฉบับปรับปรุง) 2556 ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ການໄປສະນີ (ສະບັບປັບປຸງ) ປີ 2013
กฎหมายว่าด้วยการบินพลเรือน (ฉบับปรับปรุง ) ประจำปี 2561 ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ການບິນພົນລະເຮືອນ (ສະບັບປັບປຸງ) ປີ 2018
กฎหมายว่าด้วยการบัญชี (ฉบับปรับปรุง) 2556 ກົດໝາຍວ່າດ້ວຍ ການບັນຊີ (ສະບັບປັບປຸງ) ປີ 2013
error: ห้าม Copy !!