Friday, 19 April 2024

คําโคลง สุภาษิตโบราณ ຄຳໂຄງ ສຸພາສິດບູຮານ

ຄຳໂຄງ ສຸພາສິດບູຮານ
ຄຳໂຄງ ສຸພາສິດບູຮານ

ภาษาไทยที่พวกเราเรียนกันมาตั้งแต่จำความได้และใช้สื่อสารกันเป็นเป็นประจำในชีวิตของเรา มีทั้งความสละสลวยและชั้นเชิงทางภาษาในการสื่อสารเป็นอย่างมาก อย่างกาพย์ โคลง กลอน หรือแม้กระทั่ง “สุภาษิต” ที่เราคุ้นหูกันมาตั้งแต่เด็ก จนบางทีเราอาจจะเผลอพูดโดยไม่รู้ตัวเช่น “ตกใจเป็น กระต่ายตื่นตูม ไปได้” แต่ว่าสุภาษิตไทยนั้นมีมากกว่าที่พวกเรารู้อีกมาก วันนี้ Wongnai ขออาสาพาทุกคนไปรู้จักสำนวน สุภาษิต คำพังเพยกว่า 180 คำ ว่าจะมีคำไหนและมีความหมายว่ายังไงบ้าง ไปดูกันเลย!

แต่ว่า…ก่อนจะไปดูทั้ง 180 คำ คงมีคนสงสัยเหมือนเราแน่เลยว่า สำนวนสุภาษิต คำพังเพย และคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตนั้นมีรูปแบบอย่างไร เหมือนหรือต่างกันแค่ไหน? ถ้าอย่างนั้น เราไปทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าทุกคน

คำสุภาษิต
คำสุภาษิตส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่บางครั้งเมื่อเราได้ฟัง ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของสุภาษิตเท่าไหร่นะ ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือกับตัวบุคคล ถึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ ซึ่งคำสุภาษิตนั้นมีอยู่ 2 ประเภท ก็คือ

คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนถึงจะรู้ความหมายของคำสุภาษิตนั้น ๆ เช่น น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
แต่ว่า…ยังมีคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตอยู่อีกคือ

สำนวน
สำนวนคือคำพูดในลักษณะเปรียบเทียบ และต้องแปลความหมายก่อน ฟังครั้งแรกอจจะไม่เข้าใจ คล้าย ๆ กับประเภทที่ 2 ของคำสุภาษิตนั่นแหละ

คำพังเพย
คำพังเพยคือคำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไรมากกว่า แต่ส่วนใหญ่คำพังเพยนี้จะแฝงแง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้

คำคม
คำคมคือคำพูดที่หลักแหลม ที่คิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ที่พอเราได้ฟังถึงขั้นตกยกนิ้วให้เลย คนคิดมักจะเป็นคนที่ฉลาด ไหวพริบดี หรือนักปราชญ์ เช่น คำคมของขงเบ้ง อย่าง “ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน” ไงทุกคน

คำขวัญ
คำขวัญคือคำที่ถูกแต่งขึ้นมาเพื่ออธิบายหรือพรรณาเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น ๆ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น คำขวัญจังหวัด หรือคำขวัญวันเด็กที่เราได้ยินกันทุกปีนั่นเอง

error: ห้าม Copy !!