Saturday, 27 April 2024

สัญญาเงินกู้ ໃບສັນຍາກູ້ຢືມເງິນ

เรื่องเงินไม่เข้าใครออกใครจริงๆ บทจะต้องใช้เงินจำนวนมากก็โผล่มาดื้อๆ ทำให้คนที่กำลังตกที่นั่งลำบาก ต้องหาเงินจำนวนมากให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ลองค้นบัญชีเงินฝากก็ต้องปาดเหงื่อ เพราะเงินออมไม่เพียงพอต่อยอดที่ต้องการ จะให้ไป กู้เงินด่วนนอกระบบ ดอกเบี้ยโหด ก็คงจะไม่ไหว หนทางสุดท้ายก็คือ การขอสินเชื่อ แต่จะกู้ทั้งทีก็ต้องเช็คใบสัญญากู้เงิน หรือแบบฟอร์มสัญญากู้ยืมเงินให้ดี

สัญญาเงินกู้ คืออะไร ทำไมต้องให้ความสำคัญที่สุด
สัญญาเงินกู้ หรือสัญญากู้ยืมเงิน คือ สัญญาประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับการกู้ยืมเงินสดด้วยเหตุผลต่างๆ เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประโยชน์ต่อการกู้ยืมเงินของทั้งสองฝ่าย คือ “ผู้กู้เงิน” และ “ผู้ให้กู้เงิน”

โดยมีหลักฐานการกู้ยืมเงิน และหลักฐานการชำระหนี้ที่เรียกว่า ใบสัญญาเงินกู้ ซึ่งลักษณะที่สำคัญของ สัญญากู้ยืมเงิน แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ

1. ผู้ให้กู้เงินต้องโอนกรรมสิทธิ์ในเงินให้กับผู้กู้เงิน
2. ผู้กู้เงินจะต้องคืนเงินในจำนวนที่เท่ากันแทนเงินที่ยืมไป
3. สัญญากู้ยืมจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อส่งเงินกู้

ดังนั้น เพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบจากใบสัญญาเงินกู้ ก่อนเซ็นลายเซ็นลงในใบแบบฟอร์มสัญญากู้เงิน ผู้กู้เงินจะต้องตรวจสอบข้อมูล และทำความเข้าใจในเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุเอาไว้ด้วย เพราะต่อให้ใบสัญญาจะไม่มีรูปแบบตายตัว แต่ถ้ามีลายเซ็นของผู้กู้เงิน ถือว่าผู้กู้เงินได้ยอมรับเงื่อนไขหรือข้อตกลงในใบสัญญากู้ยืมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ตรวจสอบให้ดีกับ 5 จุดสำคัญใน ใบสัญญาเงินกู้
รายละเอียดในใบสัญญากู้เงินมีหลายส่วนที่ผู้กู้เงินต้องเช็คให้ละเอียด เพื่อปกป้องสิทธิ์ของตนเองตามกฎหมาย แต่ยังมี 5 จุดสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก่อนจรดปากกาเซ็นลงในใบสัญญากู้ยืมเงิน ดังนี้

1. ยอดเงินต้น
ยอดเงินต้นหรือจำนวนเงินสุทธิที่ผู้กู้ต้องการกู้เป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบอย่างแรกว่าที่ระบุเอาไว้ในสัญญากู้ยืมตรงกับที่ตกลงกันไว้หรือไม่ ดังนั้น ก่อนเซ็นใบสัญญากู้เงิน ผู้กู้ต้องตรวจสอบยอดเงินต้นด้วย เพราะตัวเลขอาจผิดพลาด หรือเกิดการตุกติกจากอีกฝ่าย และยังส่งผลต่อยอดดอกเบี้ยที่ผู้กู้เงินต้องชำระในภายหลังอีกด้วย

2. อัตราดอกเบี้ย
การยืมเงิน กู้เงิน หรือขอสินเชื่อ จะมีอัตราดอกเบี้ยพ่วงมากับยอดเงินต้นที่ขอกู้ไปด้วยเสมอ โดยอัตราดอกเบี้ยจะถูกระบุเอาไว้ในใบสัญญาเงินกู้ และหน้าที่ของผู้กู้เงินคือตรวจสอบว่า อัตราดอกเบี้ยเป็นธรรมหรือไม่

พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ระบุเอาไว้ว่า ในกรณีที่ขอกู้ยืมเงินกับนิติบุคคล อัตราดอกเบี้ยห้ามเกิน 15% ต่อไป และในกรณีกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยเกิน 15% ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย

3. ยอดผ่อนต่อเดือน
เมื่อเงินไม่พอใช้ ทางเดียวคือ ขอสินเชื่อ ซึ่งข้อดีของการขอสินเชื่อคือ สามารถผ่อนจ่ายได้ ดังนั้น ผู้กู้เงินต้องตรวจสอบยอดผ่อนต่อเดือนที่ระบุในใบสัญญากู้ยืมว่าตรงตามที่ตกลงหรือไม่

ในกรณีที่ทำการขอกู้เงินกับสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อ ทางสถาบันการเงินจะมี “ตารางยอดผ่อนต่อเดือน”​ ที่ผู้กู้ต้องผ่อนจ่ายให้กับสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อ ซึ่งสิ่งนี้ก็ต้องตรวจสอบให้ดีเช่นเดียวกัน

4. ระยะเวลาชำระหนี้
ในกรณีที่ผู้กู้เงินขอกู้เงินกับสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อ ข้อมูลของระยะเวลาชำระหนี้จะต้องสอดคล้องกับยอดผ่อนต่อเดือนตามตารางการผ่อนจ่ายที่ระบุเอาไว้ ก่อนจะเซ็นใบสัญญากู้ยืมต้องตรวจสอบทั้งควบคู่กัน และที่สำคัญต้องดูวันเริ่มสัญญา และวันที่จบลงของสัญญาด้วย มิเช่นนั้น จะถือว่า ผู้กู้เงินยอมรับข้อตกลงทั้งหมดด้วยความยินยอมแล้ว

ทั้งหมดก็เพื่อประโยชน์ของผู้กู้เงินที่จะสามารถจัดแจงเงินในส่วนที่ต้องผ่อนจ่ายต่อเดือนให้กับสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการผิดเงื่อนไขในการชำระหนี้ที่จะเกิดในลำดับถัดไป

5. เงื่อนไขการผิดชำระหนี้
การชำระหนี้ตามใบสัญญาเงินกู้ ถือเป็นหน้าที่ที่ผู้กู้เงินต้องรับผิดชอบ ดังนั้น ถ้าไม่ชำระหนี้ตามวันและจำนวนเงินที่ระบุเอาไว้ ผู้กู้เงินจะอยู่ในสถานะ “ผู้ผิดนัด” ทันที เพราะใบสัญญากู้ยืมจะระบุข้อมูลไว้อย่างชัดเจน ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ที่ผู้กู้ยืมเงินต้องตรวจสอบให้ดีก่อนเซ็นสัญญา

error: ห้าม Copy !!