Friday, 10 May 2024

บริษัทมหาชน ບໍລິສັດ ມະຫາຊົນ

บริษัทมหาชน

บริษัทมหาชน (อังกฤษ: public company, publicly traded company, publicly held company, publicly listed company) หรือ บริษัทมหาชนจำกัด (public limited company) เป็นบริษัทที่สิทธิครอบครองผ่านการถือหุ้น มีการขายหุ้นสู่ตลาดหุ้นหรือ การซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ บริษัทมหาชนสามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้เพื่อทำการซื้อขายหุ้นได้ง่ายขึ้น หรืออาจไม่จดทะเบียนก็ได้ ในบางประเทศบริษัทมหาชนที่มีขนาดบริษัทใหญ่ถึงระดับหนึ่งจะต้องอยู่บนตลาดหลักทรัพย์

ในสหรัฐ บริษัทมหาชนจะอยู่ในรูปแบบของบรรษัท (แม้บรรษัทไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทมหาชน) ขณะที่ฝรั่งเศสเรียก “société anonyme” (SA) ในอังกฤษเรียก บริษัทมหาชนจำกัด (plc) ในเยอรมนีเรียก Aktiengesellschaft (AG) ขณะที่แนวคิดของบริษัทมหาชนแต่ละประเทศมีรูปแบบคล้ายกัน จะต่างกันแค่ความหมาย

ประวัติ
ในยุคใหม่ช่วงแรก ชาวดัตช์ได้พัฒนาเครื่องมือทางการเงินและได้ช่วยวางรากฐานระบบการเงินสมัยใหม่[2][3] บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ถือเป็นบริษัทแรกในประวัติศาสตร์ที่ออกตราสารหนี้และหุ้นสู่สาธารณชน อาจกล่าวได้ว่าบริษัทนี้ถือเป็นบริษัทมหาชนบริษัทแรกอย่างเป็นทางการ[4] เพราะเป็นบริษัทแรกที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในตลาดหลักทรัพย์ ขณะที่รัฐนครของอิตาลีได้ออกพันธบัตรรัฐบาลที่สามารถเปลี่ยนมือได้เป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้พัฒนาตลาดทุนได้อย่างเต็มที่ เอดเวิร์ด สตริงแฮม เขียนว่า “บริษัทที่มีการเปลี่ยนมือหุ้นได้สามารถย้อนกลับไปตั้งแต่โรมยุคคลาสสิก แต่ก็ไม่ได้พยายามอย่างอดทนและไม่ถือว่าเป็นตลาดรอง”[5]

หลักทรัพย์ของบริษัท
หลักทรัพย์ของบริษัทมหาชนมีเจ้าของคอนักลงทุนหลาย ๆ คน ขณะที่หุ้นของบริษัทเอกชนจะมีผู้ถือหุ้นอยู่ไม่กี่คน ส่วนบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นหลายคนก็ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทมหาชน

ข้อได้เปรียบ
บริษัทมหาชนมีข้อได้เปรียบนอกเหนือจากบริษัทเอกชนดังนี้

บริษัทมหาชนสามารถที่เพิ่มเงินทุนและทุนการเงินผ่านการขายหุ้น (ทั้งตลาดหลักและตลาดรอง) นี่เป็นเหตุผลสำหรับในการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เพราะหากไม่ทำจะเป็นการยากมากที่จะหาทุนการเงินจำนวนมากสำหรับริษัทเอกชน การจะหาเงินทุนสามารถหาได้แต่งเพียงนักลงทุนกลุ่มเล็ก ๆ หรือธนาคารที่ยินยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนจำนวนมากนี้ กำไรจากหุ้นมาในรูปแบบของเงินปันผลหรือกำไรจากส่วนต่างราคา

สื่อการเงิน นักวิเคราะห์ และสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกิจได้ และทำให้เป็นส่วนผลักดันธุรกิจ (เป็นหลักประกันทำให้มีเงินทุนมากขึ้น) โดยข้อมูลอยู่เผยแพร่สถานะการเงินและอนาคตของบริษัท

เพราะคนสนใจอย่างกว้างขวาง บริษัทจึงอาจได้รับความนิยมหรือเป็นที่รู้จักมากกว่าบริษัทเอกชน
ผู้ถือหุ้นเริ่มแรกของบริษัทมีสามารถกระจายความเสี่ยงในการขายหุ้นสู่สาธารณะ หากผู้ถือหุ้นถือหุ้น 100% นั่นหมายความว่าเขาต้องจ่ายหนี้ทั้งหมดของบริษัทเพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม หากบุคคลใดถือหุ้น 50% เขาจะต้องจ่ายหนี้ 50% เป็ฯการเพิ่มสภาพคล่องสินทรัพย์และบริษัทไม่จำเป็นต้องพึ่งเงินจากธนาคาร ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2013 ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เป็นเจ้าของบริษัท 29.3% ในฐานะผู้ถือหุ้นดั้งเดิม[6] ทำให้เขามีอำนาจพอที่จะควบคุมธุรกิจได้ ขณะที่เฟซบุ๊กก็ได้เงินทุนเพิ่มและกระจายความเสี่ยงไปสู่ผู้ถือหุ้นอื่น

หากมีการให้หุ้นต่อผู้จัดการหรือลูกจ้างบริษัท ก็มีแนวโน้มว่าจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างลูกจ้างบริษัทกับผุ้ถือหุ้นจะลดลง ตัวอย่างเช่น บริษัทเทคโนโลยีหลายบริษัท อย่างวิศวกรซอฟต์แวร์ระดับเริ่มแรกจะได้รับเป็นหุ้นแทนจากบริษัทระหว่างการว่าจ้าง (พวกเขาจึงเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัท) ทำให้วิศวกรเหล่านั้นมีความสนใจในบริษัทมากขึ้นเพื่อให้บริษัทประสบความสำเร็จด้านการเงินและทำงานให้หนักขึ้นเพื่อเป้าหมายให้บริษัทประสบความสำเร็จ

ข้อเสียเปรียบ

ตลาดหลักทรัพย์โดยมากจะต้องการข้อมูลทางการเงินที่มีการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก จากนั้นจึงเผยแพร่ข้อมูลทางบัญชีให้ผู้ถือหุ้น อย่างค่าใช้จ่ายก็เป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์แต่ก็ทำให้คู่แข่งรับรู้ด้วยเช่นกัน โดยจะระบุไว้ในรายงานประจำปีและรายงานประจำไตรมาสเป็นสิ่งที่มีกฎหมายบังคับ

ผู้ถือหุ้น
ในสหรัฐ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ ให้บริษัทมหาชนระบุผู้ถือหุ้นใหญ่ในแต่ละปี[8] รายงานแจกแจงผู้ถือหุ้นใหญ่ หากบุคคลหรือสถาบันที่ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 5 จะอยู่ในรายชื่อนี้[8] สำหรับประเทศไทย จะเปิดเผยรายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดและมีสิทธิออกเสียง

ที่มาข้อมูล https://th.wikipedia.org
ที่มาเอกสาร http://erm.gov.la/

Related posts
คำร้องขอสมัคงาน ໃບຄຳຮ້ອງຂໍສະໝັກງານ
ใบคำร้องทั่วไป ໃບຄຳຮ້ອງທົ່ວໄປ
ใบคำร้องขอหนังสือเดินทางธรรมดา ໃບຄຳຮ້ອງຂໍໜັງສືຜ່ານແດນທຳມະດາ
หนังสือขอหนังสือเดินทางทูตและราชการ ໃບຄຳຮ້ອງຂໍໜັງສືຜ່ານແດນ ການທູດ ແລະ ລັດຖະການ
ใบสมัครหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ໃບຄຳຮ້ອງຂໍໜັງສືຜ່ານແດນເອເລັກໂທຣນິກ ທຳມະດາ
ใบสมัครหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางการทูต และทางการ ໃບຄຳຮ້ອງຂໍໜັງສືຜ່ານແດນເອເລັກໂທຣນິກການທູດ ແລະ ລັດຖະການ
error: ห้าม Copy !!